วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประกันราคาขั้นสูง

การกำหนดราคาขั้นสูง(Price Ceiling) 🐖🐖

            - รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกลไกราคาในตลาดที่มีการแข่งขัน   จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น  เพราะมองว่าราคาสินค้าในตลาดสูงเกินไป  จะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน

            - รัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้าไว้ต่ำกว่าราคาดุลยภาพเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค


รัฐบาลจะทำอย่างไร ???      

            1. เข้าแทรกแซง  โดยการกำหนดราคาขั้นสูง  

               -  กรณีนี้จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess  Demand)  ตามทฤษฎี  เพราะถ้ารัฐบาลประกันราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพ  ของถูกผู้ซื้อชอบ  แต่ผู้ขายไม่ชอบ   จึงเกิดสินค้าขาดแคลนขึ้น

               -  จึงเกิดปัญหาตลาดมืด(Black  Market)  มีการลักลอบขายสูงกว่าราคาประกันขั้นสูง

              2. ถ้ารัฐบาลต้องการตรึงราคาไว้ที่ ราคาประกันขั้นสูง

              -   ต้องลดอุปสงค์ต่อสินค้านั้นให้เท่ากับอุปทาน ณ ระดับราคาประกันขั้นสูง  เช่น

-   นโยบายการปันส่วนสินค้า   (ผู้บริโภคจะซื้อเกินสิทธิที่ให้ไม่ได้)

                  โดยการแจกคูปองแสดงสิทธิในการซื้อสินค้า

              -   การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค 


การกำหนดราคาขั้นสูง ➡️➡️เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเนื่องจากราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเดือดร้อนสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ

🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌🍉🍌

การประกันราคาขั้นต่ำ



  เมื่อพูดถึงคำว่า การประกันราคาขั้นต่ำ (Price support)  นั่นก็คือ การกำหนดราคาซื้อขายไว้สูงกว่าราคาดุลยภาพ (จุดดุลยภาพนั้นเป็นจุดที่ปริมาณความต้องการซื้อเท่ากับปริมาณความต้องการขายพอดี)

ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับราคาสินค้าที่ต่ำเกินไปนั่นเอง  ส่วนใหญ่เป็น สินค้าการเกษตร


แล้วทำไมต้องประกันราคาขั้นต่ำ หล่ะ??

        ปกติถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก็จะต้องมีการซื้อขายกันที่จุดดุลยภาพ   ซึ่งรัฐบาลมองว่าราคาดุลยภาพเป็นราคาที่ต่ำเกินไป  เรียกได้ว่าพ่อค้าคนกลางมักจะซื้อสินค้าเกษตรในราคาที่ต่ำ   ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงค่ะ  โดยกำหนดราคาขั้นต่ำสูงกว่าราคาดุลยภาพนั่นเอง

มาตรการที่ 1 รัฐบาลรับซื้ออุปทานส่วนเกิน(Excess  Supply)

        โดยรัฐบาลจะตั้งราคาประกันขั้นต่ำและต้องมีการซื้อขายกันที่ราคานี้  ไม่อย่างนั้นจะผิดกฎหมาย   คราวนี้ลองคิดดูนะคะว่าถ้าเราเป็นผู้ซื้อแล้วเจอราคาที่สูงกว่าราคาดุลยภาพ (ราคาที่เรายอมรับได้) เราจะอยากซื้อหรือไม่ แต่ที่แน่ๆผู้ขายคือเกษตรกรชอบแน่นอน

        คราวนี้จึงเกิดอุปทานส่วนเกินขึ้นคือปริมาณความต้องการขายมากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ     สินค้าเกษตรก็จะเหลือ


รัฐบาลจะจัดการกับสินค้าเกษตรอย่างไร???   

         1. รัฐบาลจะรับซื้ออุปทานส่วนเกินทั้งหมด  จึงต้องมีงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล

          2. ต้องเตรียมไซโลไว้รองรับสินค้าเกษตรที่รัฐบาลรับซื้อ


สินค้าที่รับซื้อจะนำไปทำอะไร

          1. ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน  เช่น  น้ำท่วม  ภาวะแห้งแล้ง

          2. บริจาคต่างประเทศที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ

          3. นำออกจำหน่ายในตลาด


รัฐบาลจะมีหนทางอื่นอย่างไร

         1. รัฐบาลหาทางลดการผลิตให้น้อยลง  โดยชักชวนหรือส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่รายได้ดีกว่า

         คราวนี้ลองมีดูสภาพความเป็นจริงกันบ้าง   ยกตัวอย่างเช่น การประกันราคาข้าวเปลือก  สามารถทำได้บางพื้นที่  เพราะฉะนั้นเราควรเรียกว่า

          "การพยุงราคา" คือ การที่รัฐบาลดำเนินการรับซื้อผลผลิตเฉพาะในบางท้องที่  เพื่อกระตุ้นให้ราคาตลาดสูงขึ้น  



การกำหนดราคาขั้นต่ำ   เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคา และไรมีประโยชน์อย่าง


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ 🎈🎈🎈

ความยืดหยุ่นเป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าไม่มีความยืดหยุ่นเลย

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา 🎄🎄🎄

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ หมายถึง เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราจะศึกษากัน 3 ตัวคือ
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น

ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา 🍄🍄🍄

  • สินค้าที่ทดแทนกันได้
  • มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
  • สินค้าฟุ่นมเฟือยและสินค้าจำเป็น
  • ปริมาณอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นถ้าผู้บริโภคมีเวลาพิจารณามากขึ้น

🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

ความยืดหยุ่นของอุปทาน 👑👑👑👑

ความยืดหยุ่นของอุปทาน หมายถึงค่าที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคา กล่าวคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซ็นต์ ความต้องการขายจะเปลี่ยนแปลงกี่เปอร์เซนต์

ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา💍💍💍
ปัจจัยที่สมีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นของอุปทานคือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า หากผู้ผลิตมีเวลามากก็จะมีความยืดหยุ่นมาก
  • ช่วงเวลาสั้นมากจนผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายได้ กราฟอุปทานจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณ
  • ช่วงเวลาระยะสั้น กราฟอุปทานจะมีความชั้นมาก
  • ช่วงเวลาระยะยาว กราฟอุปทานจะมีความชั้นน้อย
🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸


ประโยชน์จากการศึกษาความหยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทานต่อราคา

➡️➡️ ทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการซื้อและปริมาณความต้องการขายที่ เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกำหนดอุปสงค์และปัจจัยกำหนดอุปทาน
➡️➡️ ทำให้ธุรกิจสามารถทราบถึงรายรับรวมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจาก ราคาสินค้าที่เปลี่ยนไป เช่น หากบริษัททราบว่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของสินค้า ตนมีค่าสูง มากบริษัทสามารถตัดสินใจได้ว่าควรใช้นโยบายลดราคาสินค้าเนื่องจากจะทำให้มี ยอดจำหน่ายสูงขึ้นแม้ว่ากำไรต่อหน่วยจะลดลงแต่เมื่อขายได้มากขึ้นก็จะทำให้รายได้รวมของ บริษัทสูงขึ้น 
➡️➡️ ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของสินค้าต่าง ๆ ที่มีต่อผู้บริโภค สินค้าที่มี ความจำเป็นในชีวิตประจำวันย่อมมีค่าความยืดหยุ่นต่ำเช่น ค่ารักษาพยาบาล แม้ว่าจะสูง เพียงใดแต่เมื่อเจ็บป่วยคนไข้ก็ยินดีจ่ายให้เพราะเป็นความจำเป็นที่ต้องรักษาให้หาย เป็นต้น
 ➡️➡️ สามารถนำความรู้ความเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เรื่องอื่น ๆ ได้ เช่น ความยืดหยุ่นของอุปทานเงินฝากต่ออัตราดอกเบี้ย ผลกระทบของการส่งออกจาก นโยบายลดค่าของเงิน หรือกรณีที่ ความยืดหยุ่นของปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าเกษตรมีค่า ค่อนข้างต่ำมาก การส่งเสริมการผลิตอาจท าให้ราคาสินค้าที่เกษตรกรได้รับน้อยลงไป เนื่องจากอุปทานของสินค้ามีล้นตลาด นโยบายการพัฒนาการเกษตรอาจต้องมุ่งส่งเสริมการ ผลิตสินค้าเกษตรหลาย ๆ อย่างให้หลากหลายกันไป เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกดราคาจากพ่อค้า คนกลาง หรือในการศึกษาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์เมื่อต้องการเก็บภาษีสินค้าจาก ผู้บริโภค ถ้าสินค้าชนิดนั้นมีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่ำรายรับจากภาษีจะเพิ่มขึ้นมาก เพราะถึงราคาสินค้านั้นจะสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคก็จำเป็นต้องรับภาระสูงขึ้น โดยไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้ ในทางตรงกัน ข้าม ถ้าสินค้าชนิดนั้น มีค่าหยุ่นสูง เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย ต่าง ๆ การเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยอาจทำให้ร้ายรับจากภาษีลดลงได้ เช่น ครั้งหนึ่งรัฐบาลไทยเคยประกาศจัดเก็บภาษีการค้าเบียร์ในอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก ปรากฏว่ายอดขายเบียร์ ตกลงไปมาก เมื่อธุรกิจเอกชนขายเบียร์ได้น้อย ทำให้รัฐบาลเก็บได้ภาษีน้อยลงไปจากเดิม เป็นต้น